การรักษาคลองรากฟัน เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟัน ให้อยู่ในช่องปากได้

ฟัน  ประกอบด้วย  ส่วนตัวฟันที่สามารถมองเห็นในปาก และส่วนรากฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกเบ้าฟันใต้เหงือก

ชั้นนอกสุดของส่วนตัวฟันเรียกว่า เคลือบฟัน ชั้นถัดไปเรียกว่า เนื้อฟัน ใต้เนื้อฟันมีโพรง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาท และหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงฟัน เรียกโพรงนี้ว่า โพรงรากฟัน

 

ฟันที่ต้องรักษาคลองรากฟัน คือ

1 ฟันที่ผุมาก จนทะลุโพรงฟัน

2 ฟันที่ได้รับการกระแทก จากการเกิดอุบัติเหตุ

3 ฟันร้าว แตกหัก หรือสึกจนทะลุโพรงรากฟัน

อาการแสดงของฟันที่ต้องรักษาคลองรากฟัน

          1 เสียวฟันมาก เมื่อดื่มน้ำร้อน หรือ น้าเย็น

                                                                                     2 ปวดพันขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น

                                                                                     3 ปวดเป็นๆหายๆ ปวดรุนแรง

                                                                                     4 ฟันเปลี่ยนสี หรือไม่มีอาการแสดงดังกล่าว แต่มีตุ่มหนอง ปวดเหงือก หรือปวดที่ใบหน้า 

                                หากไม่รักษาคลองรากฟัน การถอนฟันอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง แตการถอนฟันจะทําให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการยุบตัวลงไปด้วย เมื่อทําฟันเทียมมาทดแทน อาจจะไม่สวยเหมือนฟันธรรมชาติ การบดเคี้ยวลดประสิทธิภาพลง และค่าใช้จ่ายสูง

                                ถ้าถอนฟันไปนานๆ โดยไม่ใส่ฟันเทียมขึ้นทดแทน ฟันซี่ข้างเคียงจะล้มเอียงเกิดเป็นช่องกว้างระหว่างฟัน ทําให้เศษอาหารติด อาจเป็นผลให้เหงือกอักเสบได้ หรือฟันผุ นอกจากนี้ ฟันคู่ที่สบของฟันที่ถูกถอนออกไปจะยื่นเข้ามาในบริเวณช่องว่าง

ทําให้ระดับของฟันไม่สม่ำเสมอ

                                การรักษาคลองรากฟัน คือ ขบวนการกําจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ และทําความสะอาดฟัน คลองรากฟัน ไม่ให้มีการติดเชื้อนั้นเอง จากนั้นทําการอุดโพรงฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน และบูรณะตัวฟัน เพื่อความสวยงาม และการใช้งานได้ตามปกติ

 

                               การรักษาคลองรากฟันไม่ซับว้อนอย่างที่คิด

 

                               ทันตแพทย์จะทําการตรวจในช่องปาก และถ่ายภาพรังสี เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และวางแผนก่อนการรักษา

       ขั้นตอนดังนี้

                              1 เปิดทางเข้าสู่โพรงฟัน

                              2 ทําความสะอาดภายในโพรงฟัน และคลองรากฟัน โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็ก และน้ำยาล้าง และใส่ยาฆ่าเชื้อที่คลองรากฟัน การทําความสะอาดตามปกติ ประมาณ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของการติดเชื้อของฟันแต่ละซี่

                              3 ทําการอุดคลองรากฟันให้เต็มแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อซ้ำ

                              4 ทําการบูรณะตัวฟันให้สวยงาม และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

                                                                                               เนื้อหา ข้อมูล จาก ชมรมเอ็นโดดอนติกส์แห่งประเทศไทย

 

 

Visitors: 79,625